kru@kru.ac.th 034-534059-60


ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาโจทย์ข้อเสนอโครงการวิจัยปีที่ 2 (25-26 เม.ย. 66)


ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาโจทย์ข้อเสนอโครงการวิจัยปีที่ 2 (25-26 เม.ย. 66)

 

วันที่ 25-26 เมษายน 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาโจทย์ข้อเสนอโครงการวิจัยปีที่ 2 ภายใต้แผนงานการพัฒนานวัตกรรมการเกษตรเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของภูมิภาคตะวันตก (Western SAFE PARK) ณ ห้องประชุมสุทธาสิโนบล ชั้น 2 อาคารพัชรปัญญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

 

โดยมี ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และผู้อำนวยการแผนงาน Western SAFE Park เป็นประธานในการกล่าวเปิดและ รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย ที่ปรึกษาแผนงานฯ เป็นวิทยากรกระบวนการในการพัฒนาโจทย์วิจัย

 

แผนงาน Western SAFE Park ได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมีนักวิจัยเครือข่ายจาก 4 มหาวิทยาลัยภูมิภาคตะวันตกเข้าร่วม ประกอบด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี รวมทั้งสิ้น 40 คน การประชุมเริ่มจากให้นักวิจัยพัฒนากรอบแนวคิด (Concept Paper)

-การพัฒนาโจทย์วิจัย

-การวิเคราะห์ปัญหาจากโจทย์วิจัยที่สอดคล้องและตอบโจทย์ของประเทศ

-การเขียน Project Value Preposition

-การเขียน Business Model Canvas

โดยมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการจัดทำข้อเสนอการขอทุนวิจัยให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ และติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาแผนงานวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัย สำหรับขอทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)

 

การคัดเลือกโครงการย่อย ความเชื่อมโยงและการติดตามผลงาน มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) โครงการย่อยที่ตอบโจทย์การพัฒนาส่วนต้นน้ำ โดยคัดเลือกจากกลุ่มชุมชน/วิสาหกิจชุมชนต้องมีการดำเนินการตามแนวทางหรือตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว โดยต้องให้มีการกระจายให้อยู่ใน 4 จังหวัดเครือข่ายภูมิภาคตะวันตกที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของภูมิภาคตะวันตก

2) โครงการย่อยที่ตอบโจทย์การพัฒนาส่วนกลางน้ำ โดยคัดเลือกจากโครงการที่ยกระดับเพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย การสร้างตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาช่องทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Physically Creative Platform) ให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ (Identity) ของภูมิภาคตะวันตกและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค (Demand Driven)

3) โครงการย่อยที่ตอบโจทย์การพัฒนาส่วนปลายน้ำ โดยคัดเลือกจากโครงการที่สร้างการเชื่อมโยงสินค้าไปยังผู้บริโภคทั้งค้าปลีกและค้าส่งผ่านระบบสารสนเทศศูนย์กลางการจัดการสินค้าการเกษตรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital platform) ให้มีประสิทธิภาพและสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรอย่างแท้จริง

ทั้งนี้โครงการต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำจะต้องมีการเชื่อมโยงผู้ผลิต สินค้า ผู้บริโภค การขนส่ง และระบบสารสนเทศ และสามารติดตามวัดผลได้ทุกโครงการตามวัตถุประสงค์ (Objective) ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ที่กำหนดไว้ในแต่ละโครงการ

 

ภาพ/ข่าว : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.กาญจนบุรี

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.kru.ac.th

รับสมัครนักศึกษาออนไลน์ http://register.kru.ac.th/reg/

IG: kru.university โทร 034-534059-60

รับชมภาพทั้งหมดได้ที่ https://www.facebook.com/media/set?vanity=kru.ac.th&set=a.5706905786081402